จัดแสงในการถ่ายรูป

จัดแสงในการถ่ายรูปอย่างไรดี

แสงถือเป็นปัจจัยหลักในการที่เราจะใช้เลือกเวลาการถ่ายรูปเป็นอย่างมากเลยก็ว่าได้ครับ เพราะความคมชัด สวยงาม แสงเงาต่างๆ สีของรูปถ่าย จะดีหรือออกมาแย่ “แสง” มีผลเป็นอย่างมากครับ วันนี้เราเลยอยากพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “จัดแสงในการถ่ายรูปอย่างไรดี” ที่เราจะไปศึกษาพร้อมๆ กับทุกๆ คนกันเลยครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…ไปลุยกันเลยดีกว่า!!!

รู้จักกับแสงในช่วงเวลาต่างๆ

1. ช่วงแสงสีทอง (Golden Hour)

ช่วงแสงสีทองเป็นช่วงเวลาทองที่ช่างภาพแนะนำให้ถ่ายภาพในช่วงนี้ เพราะเป็นแสงสีทองที่นุ่มเติมอารมณ์ภาพได้ดี ทั้งยังช่วยให้ภาพดูสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพบุคคลหรือการถ่ายภาพทิวทัศน์

2. ช่วงแสงในช่วงเวลาก่อนดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นบนขอบฟ้า (Blue Hour)

ช่วง Blue hourเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นเพียงเล็กน้อยและหลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าแต่ยังคงเหลือแสงที่ให้ความสว่าง โดยความสวยงามของช่วงระยะเวลานี้คือ แสงของดวงอาทิตย์ที่กระทบกับก้อนเมฆหรือท้องฟ้า หรือฝุ่นควันในบรรยากาศ มีสีสันของท้องฟ้าที่สวยอย่างน่าทึ่ง ดูแปลกตา

3. แสงกลางคืน (Night)

การถ่ายภาพกลางคืน เป็นการถ่ายภาพที่ท้าทายสำหรับมือใหม่ แสงไม่พอ ปรับตั้งค่าไม่ได้ ภาพสั่นเบลอ แต่เป็นภาพที่ให้ผลลัพท์ที่ดูน่าสนใจซึ่งเป็นภาพที่ช่างภาพหลายคนหลงไหลอย่างมากด้วยเช่นกัน

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ค่ารูรับแสง” ของกล้องถ่ายรูป

F number คือปริมาณแสงที่ส่งผ่านไปยังเซนเซอร์รับภาพ (Image Sensor) มีหน่วยวัด เป็น F number –  ค่า f stop number ถ้า f stop number มากๆ รูรับแสงจะแคบ ส่วน f stop number น้อยๆ รูรับแสงจะกว้าง โดย  F 2.8 (กว้าง) – F 16 (แคบ) โดย F number  นั้นจะเพิ่มเป็นขึ้น ( stop ) เช่น  f2.0 ,  f2.8 , f4 ,  f5.6 ,  f8 ,  f11 ,  f16 ,  f22 ในแต่ละขั้นจะทำให้แสงเพิ่มขึ้นเท่าตัว เช่น ค่ารูรับแสง f2 จะให้ปริมาณแสงมากกว่าขนาดรูรับแสง f2.8 อยู่ 1 สตอปมากกว่า f4 อยู่ 2 สตอป หมายความว่ายิ่งเลือกใช้ค่ารูรับแสงมากขึ้นม่านไดอะแฟรมในตัวเลนส์ก็จะยิ่งหรี่เล็กลง แสงจะผ่านไปยังเซนเซอร์ได้น้อยนั้นเองครับ

เราจะตั้งค่ารูรับแสงอย่างไรดี

  • ลองฝึกการใช้รูรับแสงค่าต่างๆ เราสามารถฝึกถ่ายภาพนอกสถานที่ก็ได้หรือถ่ายในบ้านตัวเองก็ได้เช่นกัน โดยพยายามหาพื้นที่กว้างแล้วมองหาวัตถุที่จะมาเป็นแบบหลักให้กับเรา หรือจะใช้นางแบบก็ได้นะครับ โดยทดลองจากการถ่ายภาพที่รูรับแสงกว้างไปจนถึงรูรับแสงที่แคบ เช่นเริ่มถ่ายตั้งแต่ค่า f1.4 ถึง f16 เพื่อเลือกตามที่เราชอบมากที่สุด เพราะการปรับจะไม่ตายตัวครับ
  • เลือกรูรับแสงที่เหมาะสมสำหรับการเล่าเรื่อง เราต้องตัดสินใจเองว่าจะให้ภาพของเรามีระยะชัดลึกแค่ไหน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเราเองและต้องรู้ด้วยว่าเลนส์ของเรามีประสิทธิภาพแค่ไหน เมื่อเวลาที่ตั้งค่ารูรับแสงที่ต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น การถ่ายภาพบุคคล เรามักจะคิดว่าต้องใช้รูรับแสงกว้าง ๆ ภาพจะได้ฟุ้งเบลอสวย แต่การที่รูรับแสงกว้าง เสี่ยงต่อการที่จะได้ภาพไม่คมชัดครับ ดังนั้นจึงต้องเลือกรูรับแสงที่เหมาะสมที่สุดนั้นเอง
  • ไม่มีค่ารูรับแสงตายตัว รูรับแสงที่ใช้ อย่างที่บอกเราควรจะใช้ตามความเหมาะสมและสื่อสารเนื้อหาได้อย่างที่ช่างภาพต้องการครับ ซึ่งไม่ได้กำหนดไว้ตายตัวว่าการถ่ายภาพบุคคลต้องใช้รูรับแสงกว้าง หน้าชัดหลังเบลอเสมอไปต้องขึ้นกับสิ่งที่เราต้องการจะถ่ายทอดผ่านภาพถ่ายออกมาครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ “จัดแสงในการถ่ายรูปอย่างไรดี” ที่เราได้นำมางากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ คิดว่าน่าจะได้ความรู้ติดตัวไปพร้อมๆ กันนะครับ